การจัดการความรู้ของวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองหัววัว
ต.โคกสี อ.เมือง จ.ขอนแก่น
ผู้ให้สัมภาษณ์ ประธานกลุ่ม และคณะกรรมการกลุ่ม
กิจกรรมการเกษตรทั้งหมดของกลุ่ม ผลิตไข่เค็มเสริมไอโอดีน
2) แรงงาน จากสมาชิกจำนวน 20 คน
3) เงินทุน เงินทุนหมุนเวียนประมาณ 40,000 บาท
1) การเป็นสมาชิกกลุ่ม เพื่อประกอบอาชีพเสริมรายได้ อยากมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้าน
2) การอบรมและพัฒนาบุคลากร สมาชิกกลุ่มได้รับการอบรมและศึกษาดูงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เรื่องบรรจุภัณฑ์ การรวมกลุ่มแม่บ้าน การบริหารจัดการเงินทุน เป็นต้น
กิจกรรมทางการเกษตรที่เลือกศึกษากระบวนการจัดการเรียนรู้
เป็นการจัดการความรู้ในการแปรรูปไข่เป็ดวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าได้มากกว่าการขายผลผลิตสด
สภาพการผลิตและการจำหน่ายผลผลิตก่อนที่จะมีการปรับปรุงโดยการจัดการความรู้
1) ประวัติการผลิต
- ผลิตมาแล้ว 34 ปี (ตั้งแต่ปี
พ.ศ.2526)
2)
กระบวนการผลิตก่อนที่จะมีการปรับปรุงโดยการจัดการความรู้
การจำหน่ายผลผลิต
- ช่วงเวลาที่จำหน่าย
จำหน่ายตลอดปี
-
สถานที่จำหน่าย ร้านทำขนมเปี๊ยะ ร้านเจ๊รัช ร้านง่วนเฮียง ตลาดบ้านโคกสี
ตลาดทั่วไป
-
จำนวนหรือปริมาณที่จำหน่าย 7,200 ฟอง/เดือน
สภาพการจัดการความรู้เพื่อปรับปรุงการผลิตและการจำหน่าย
1) เรื่องสำคัญที่มีการปรับปรุงการผลิตและการจำหน่าย
1.1) การเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์ โดยใ่ช้เกลือไอโอดีนเป็นส่วนผสม
1.2)
การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การสร้างตราสัญลักษณ์สินค้า และการทำมาตรฐานสินค้า
1.3) เทคนิคในขั้นตอนการผลิตที่ช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีความน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น
2) ความคิด ความรู้
และวิธีการที่เคยมีหรือปฏิบัติอยู่ก่อนแล้ว
ความคิด ความรู้ วิธีการ และคำแนะนำในการผลิต
กลุ่มได้รับความรู้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุน
ต่อมาเมื่อกลุ่มได้มีโอกาสไปร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานและอบรมนอกสถานที่ ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม
โดยประยุกต์ให้สอดคล้องกับวัตถุดิบที่สามารถหาได้ในชุมชน หรือชุมชนใกล้เคียง รวมถึงการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานของสูตรของผลิตภัณฑ์ มาตรฐานของส่วนประกอบที่มีอัตราส่วนการผลิตคงที่
3) การถ่ายทอดความคิด ความรู้
และวิธีการที่ได้รับมาใหม่สู่คนอื่นในกลุ่มโดยการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสมาชิก โดยสมาชิกที่ได้ไปศึกษาดูงานหรืออบรมมาแล้ว จะเป็นพี่เลี้ยงในการถ่ายทอดต่อไปยังสมาชิกผู้ที่ยังไม่ได้รับการศึกษาดูงานหรืออบรม
โดยการลงมือปฏิบัติจริง รวมถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกันระหว่างสมาชิก
4) ผลดีที่เกิดขึ้นจากการนำความคิด ความรู้
และวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ปรับปรุงการผลิตและการจำหน่าย
4.1) ด้านสังคม : ทำให้กลุ่มเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน สร้างความสามัคคีภายในกลุ่ม สมาชิกมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการร่วมกัน
4.2) ด้านเศรษฐกิจ : ทำให้สมาชิกในกลุ่มมีรายได้เสริมนอกเหนือจากรายได้ที่ได้จากอาชีพหลัก ระบบเศรษฐกิจของชุมชนมีความเข้มแข็งขึ้น
4.3)
ด้านอื่น ๆ : เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ในกิจกรรมศึกษาดูงานระหว่างกลุ่มเกษตรกร
หน่วยงานอื่น ๆ และบุคคลผู้สนใจทั่วไป
แผนการเผยแพร่ความคิด ความรู้ และวิธีการใหม่ ๆ
เป็นจุดเรียนรู้สำหรับเกษตรกร
บุคคลทั่วไป และหน่วยงานอื่น ๆ โดยสิ่งที่จส่งเสริมให้การเผยแพร่ความรู้ดังกล่าวประสบผลสำเร็จ คือ การจัดการความรู้เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิต
การเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิก การควบคุมคุณภาพและมาตรฐานกระบวนการการผลิต รวมถึงการทำให้ตราสัญลักษณ์สินค้าให้เป็นมาตรฐานสินค้าที่ได้รับความเชื่อถือจากผู้บริโภค
โดยผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับรองมาตรฐานสินค้าอาหาร
ข้อคิดเห็นต่อการจัดการความรู้ของกลุ่ม
จุดเด่น
- ประสบการณ์ในการทำที่ยาวนานและการทำผลิตภัณฑ์เพียงชนิดเดียว ทำให้ความเที่ยงตรงของสูตรมีความแม่นยำสูง
- จนเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการผลิตไข่เค็มไอโอดีน
- เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้มาศึกษาดูงานจากกลุ่มกับสมาชิกกลุ่ม
จุดด้อย
- ความสามารถในการจัดการความรู้ของกลุ่ม
- สมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ
- การถ่ายความรู้สู่คนรุ่นใหม่ในหมู่บ้านยังไม่มี
รวมทั้งคนรุ่นใหม่ในหมู่บ้านยังขาดความสนใจ
การทำธุรกิจเกษตรระดับชุมชนในอนาคตอาจทำให้ขาดโอกาสทางการตลาดที่กลุ่มเดิมได้ทำผลิตภัณฑ์ให้มีชื่อเสียงมานาน
หากมีสมาชิกเป็นคนรุ่นใหม่สนใจที่จะจัดการความรู้ที่กลุ่มมีอยู่เดิมแล้วไปต่อยอดเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความน่าสนใจและหลากหลาย
ก็จะเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ให้กับผลิตภัณฑ์ของชุมชน และเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค
ผู้จัดทำ : นางสาวเจิมขวัญ วรยศ
รหัสนักศึกษา : 575030040-7
ประกอบรายวิชา : การจัดการความรู้เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
รหัสวิชา : 146 726
ภาควิชาส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ภาควิชาส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น
No comments:
Post a Comment