Friday, May 6, 2016

การจัดการความรู้ระดับบุคคล ระดับครัวเรือน และระดับองค์กร


การจัดการความรู้ระดับบุคคล ระดับครัวเรือน 
และระดับองค์กร




    
1) การจัดการความรู้ระดับบุคคล
เรื่อง/ประเด็นความรู้ที่สำคัญ
แนวทาง/วิธีการจัดการความรู้
1. การดูแลสุขภาพ
- นอนหลับพักผ่อนอย่างน้อย วันละ 8 ชั่วโมง
- ออกกำลังกายเฉลี่ยวันละ 30 นาที
- ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
- ทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่
2. ครอบครัว
- มีกิจกรรมร่วมกันในวันหยุดสุดสัปดาห์
- การลดรายจ่าย ด้วยการจัดทำบัญชีครัวเรือน
- การสร้างความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว
3. สร้างความสามัคคีในชุมชน
- กิจกรรมชุมชนที่สร้างการมีส่วนร่วม เช่น กิจกรรม 5 ส
- ให้ความสำคัญกับประเพณีที่สำคัญในชุมชน
4. สมาชิกในชุมชน
- กิจกรรมปลูกจิตสำนึกความสามัคคี
- พัฒนาความรู้แก่เยาวชนในชุมชน
- จัดสวัสดิการแก่สมาชิก
5. การทำงานในหน้าที่
- ทำงานด้วยความโปร่งใส บริสุทธิ์ ยุติธรรม
- ให้ความสำคัญกับคนในชุมชนอย่างเท่าเทียมกัน
- ดูแลความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชนให้มีความผาสุก ปลอดอบายมุข





2) การจัดการความรู้ระดับครัวเรือน




เรื่อง/ประเด็นความรู้ที่สำคัญ
แนวทาง/วิธีการจัดการความรู้
1. การเงิน
- วางแผนต้นทุนและรายได้จากการผลิต
- การจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
- การจัดสรรรายได้เพื่อการออมทรัพย์
2. ครอบครัว
- สร้างความรู้พื้นฐานด้านการเกษตรแก่สมาชิกในครัวเรือน
- สร้างการมีส่วนร่วมผ่านกิจกรรมของครัวเรือน
3. สังคม
- การแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตผักกับบุคคลหรือหน่วยงานอื่น ๆ
- เทคโนโลยีการผลิตที่รักษาสิ่งแวดล้อม
4. ญาติมิตร/คนในชุมชน
- สร้างทางเลือกด้านการเกษตรแก่ญาติมิตร และผู้สนใจ
- จัดทำเครือข่ายผลิตผักปลอดสารพิษ
5. บุตร/หลาน/เยาวชนในชุมชน
- กิจกรรมโรงเรียนสีเขียว
- กิจกรรมเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

  3) การจัดการความรู้ระดับองค์กร/กลุ่ม
เรื่อง/ประเด็นความรู้ที่สำคัญ
แนวทาง/วิธีการจัดการความรู้
1. การผลิต
- การวางแผนการผลิตเพื่อให้มีผลผลิตตลอดฤดูกาล
- การใช้ทรัพยากร/ปัจจัยการผลิตร่วมกัน
- เพิ่มมูลค่าด้วยการแปรรูปผลผลิต
2. การจำหน่าย
- รวมจำหน่ายเป็นตลาดเดียวเพื่อความเข้มแข็ง/อำนาจการต่อรอง
- เน้นการจำหน่ายผลผลิตไปยังกลุ่มลูกค้าผู้รักสุขภาพ
3. ปัจจัยการผลิต
- ทำปัจจัยการผลิตจากวัตถุดิบที่มีในชุมชน
- รวมกันจัดหาปัจจัยการผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิต
- ใช้ชีวภัณฑ์ทดแทนการใช้สารเคมี
4. การตลาด
- ศึกษาความต้องการของผู้บริโภค
- นำความต้องการของผู้บริโภคเพื่อวางแผนการผลิต
5. สมาชิก
- การมีส่วนร่วมในการวางแผน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์
- การนำระเบียบ ข้อตกลง หรือข้อบังคับ ใช้ในการทำงานร่วมกัน
- ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของคณะกรรมการและสมาชิก


จัดทำโดย นางสาวเจิมขวัญ วรยศ
รหัส 575030040-7
ภาควิชาส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น


การจัดการความรู้ของวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองหัววัว

 การจัดการความรู้ของวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองหัววัว
ต.โคกสี อ.เมือง จ.ขอนแก่น


ผู้ให้สัมภาษณ์ ประธานกลุ่ม และคณะกรรมการกลุ่ม


กิจกรรมการเกษตรทั้งหมดของกลุ่ม  ผลิตไข่เค็มเสริมไอโอดีน

สภาพเศรษฐกิจของกลุ่ม     1) ที่ดิน พื้นที่ทำการผลิตขนาด 12 ตารางเมตร 
                                                                         2) แรงงาน  จากสมาชิกจำนวน 20 คน 
                                                                       3) เงินทุน  เงินทุนหมุนเวียนประมาณ 40,000 บาท 

สภาพทางสังคมของกลุ่ม
    1) การเป็นสมาชิกกลุ่ม เพื่อประกอบอาชีพเสริมรายได้ อยากมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้าน 
    2) การอบรมและพัฒนาบุคลากร สมาชิกกลุ่มได้รับการอบรมและศึกษาดูงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เรื่องบรรจุภัณฑ์ การรวมกลุ่มแม่บ้าน การบริหารจัดการเงินทุน เป็นต้น 


กิจกรรมทางการเกษตรที่เลือกศึกษากระบวนการจัดการเรียนรู้  
   เป็นการจัดการความรู้ในการแปรรูปไข่เป็ดวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าได้มากกว่าการขายผลผลิตสด 

สภาพการผลิตและการจำหน่ายผลผลิตก่อนที่จะมีการปรับปรุงโดยการจัดการความรู้
    1) ประวัติการผลิต
                   - ผลิตมาแล้ว 34 ปี (ตั้งแต่ปี พ.ศ.2526)
    2) กระบวนการผลิตก่อนที่จะมีการปรับปรุงโดยการจัดการความรู้
                   การจำหน่ายผลผลิต
                   - ช่วงเวลาที่จำหน่าย จำหน่ายตลอดปี
                     - สถานที่จำหน่าย ร้านทำขนมเปี๊ยะ ร้านเจ๊รัช ร้านง่วนเฮียง ตลาดบ้านโคกสี ตลาดทั่วไป
                   - จำนวนหรือปริมาณที่จำหน่าย 7,200 ฟอง/เดือน

  สภาพการจัดการความรู้เพื่อปรับปรุงการผลิตและการจำหน่าย
     1) เรื่องสำคัญที่มีการปรับปรุงการผลิตและการจำหน่าย 
         1.1) การเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์ โดยใ่ช้เกลือไอโอดีนเป็นส่วนผสม
         1.2) การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การสร้างตราสัญลักษณ์สินค้า และการทำมาตรฐานสินค้า 
         1.3) เทคนิคในขั้นตอนการผลิตที่ช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีความน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น 
     2) ความคิด ความรู้ และวิธีการที่เคยมีหรือปฏิบัติอยู่ก่อนแล้ว 
         ความคิด ความรู้ วิธีการ และคำแนะนำในการผลิต กลุ่มได้รับความรู้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุน ต่อมาเมื่อกลุ่มได้มีโอกาสไปร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานและอบรมนอกสถานที่ ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม โดยประยุกต์ให้สอดคล้องกับวัตถุดิบที่สามารถหาได้ในชุมชน หรือชุมชนใกล้เคียง รวมถึงการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานของสูตรของผลิตภัณฑ์ มาตรฐานของส่วนประกอบที่มีอัตราส่วนการผลิตคงที่
     3) การถ่ายทอดความคิด ความรู้ และวิธีการที่ได้รับมาใหม่สู่คนอื่นในกลุ่มโดยการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสมาชิก โดยสมาชิกที่ได้ไปศึกษาดูงานหรืออบรมมาแล้ว จะเป็นพี่เลี้ยงในการถ่ายทอดต่อไปยังสมาชิกผู้ที่ยังไม่ได้รับการศึกษาดูงานหรืออบรม โดยการลงมือปฏิบัติจริง รวมถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกันระหว่างสมาชิก
     4) ผลดีที่เกิดขึ้นจากการนำความคิด ความรู้ และวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ปรับปรุงการผลิตและการจำหน่าย 
         4.1) ด้านสังคม : ทำให้กลุ่มเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน สร้างความสามัคคีภายในกลุ่ม สมาชิกมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการร่วมกัน
         4.2) ด้านเศรษฐกิจ : ทำให้สมาชิกในกลุ่มมีรายได้เสริมนอกเหนือจากรายได้ที่ได้จากอาชีพหลัก ระบบเศรษฐกิจของชุมชนมีความเข้มแข็งขึ้น
         4.3) ด้านอื่น ๆ : เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ในกิจกรรมศึกษาดูงานระหว่างกลุ่มเกษตรกร หน่วยงานอื่น ๆ และบุคคลผู้สนใจทั่วไป 

แผนการเผยแพร่ความคิด ความรู้ และวิธีการใหม่ ๆ 
         เป็นจุดเรียนรู้สำหรับเกษตรกร บุคคลทั่วไป และหน่วยงานอื่น ๆ โดยสิ่งที่จส่งเสริมให้การเผยแพร่ความรู้ดังกล่าวประสบผลสำเร็จ คือ การจัดการความรู้เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิต การเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิก การควบคุมคุณภาพและมาตรฐานกระบวนการการผลิต รวมถึงการทำให้ตราสัญลักษณ์สินค้าให้เป็นมาตรฐานสินค้าที่ได้รับความเชื่อถือจากผู้บริโภค โดยผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับรองมาตรฐานสินค้าอาหาร

ข้อคิดเห็นต่อการจัดการความรู้ของกลุ่ม
        จุดเด่น 
            - ประสบการณ์ในการทำที่ยาวนานและการทำผลิตภัณฑ์เพียงชนิดเดียว ทำให้ความเที่ยงตรงของสูตรมีความแม่นยำสูง 
            - จนเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการผลิตไข่เค็มไอโอดีน 
            - เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้มาศึกษาดูงานจากกลุ่มกับสมาชิกกลุ่ม 
        จุดด้อย 
           - ความสามารถในการจัดการความรู้ของกลุ่ม 
             - สมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ  
             - การถ่ายความรู้สู่คนรุ่นใหม่ในหมู่บ้านยังไม่มี รวมทั้งคนรุ่นใหม่ในหมู่บ้านยังขาดความสนใจ
         การทำธุรกิจเกษตรระดับชุมชนในอนาคตอาจทำให้ขาดโอกาสทางการตลาดที่กลุ่มเดิมได้ทำผลิตภัณฑ์ให้มีชื่อเสียงมานาน หากมีสมาชิกเป็นคนรุ่นใหม่สนใจที่จะจัดการความรู้ที่กลุ่มมีอยู่เดิมแล้วไปต่อยอดเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความน่าสนใจและหลากหลาย ก็จะเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ให้กับผลิตภัณฑ์ของชุมชน และเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค



ผู้จัดทำ : นางสาวเจิมขวัญ  วรยศ
รหัสนักศึกษา : 575030040-7
ประกอบรายวิชา : การจัดการความรู้เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
รหัสวิชา : 146 726
ภาควิชาส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น






Friday, April 1, 2016

กระบวนการวิเคราะห์ชุมชน ผ่านกระบวนการ AIC

บ้านป่าชาด ต.แดงใหญ่ อ.เมือง จ.ขอนแก่น
 
 
 
 
หลักการวิเคราะห์ชุมชน
            การวิเคราะห์ชุมชนทำเพื่อต้องการทราบว่าปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของเกษตรกรและชุมชนคืออะไร สาเหตุของปัญหาและความต้องการเป็นอย่างไร และจะนำไปวางแผนดำเนินการแก้ไขปัญหาในต่อไป สิ่งสำคัญที่สุดในการวิเคราะห์ชุมชนคือ ประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ชุมชน  ถ้าหากประชาชนมีส่วนร่วมมากเท่าใด การทราบคำตอบของปัญหาและแนวทางในการแก้ไขปัญหาก็ย่อมจะมีมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นขั้นตอนของการวิเคราะห์ชุมชนว่ามีอยู่ประการ ดังต่อไปนี้
 


1.  ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน
2ศึกษาสาเหตุของปัญหา             
3.  ศึกษาความสามารถในการแก้ไขปัญหา
4.  ศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและความต้องการของชุมชน
 
 
 สิ่งที่สำคัญคือการศึกษาวิเคราะห์ชุมชนต้องใช้วิธีการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งการมีส่วนร่วมในความหมายนี้จึงเป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนวทางการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนพัฒนาการรับรู้สติปัญญา และความสามารถในการตัดสินใจ กำหนดชีวิตด้วยตนเอง ดังนั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนจึงเป็นทั้งวิธีการ (Means) และเป้าหมาย (Ends) ในเวลาเดียวกัน